วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

Introduce

ชื่อนายทนงเกียรติ     ดิพอ
รหัสนักศึกษา 581750021
คณะมนุษยศาสตร์  สาขาภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ ชั้นปีที่ 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
เรื่อง "Welcome to Mae Ai"
วิชา GEN1102 เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน  Section : AE

ข้อมูลอำเภอแม่อาย

..Mae Ai..



คำขวัญอำเภอ :
เหนือสุดเวียงเชียงใหม่ ยิ่งใหญ่ดอยฟ้าห่มปก แม่น้ำกกแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระธาตุสบฝาง เมืองพระนางมะลิกา เด่นสง่าวัดท่าตอน ลือขจรผลไม้ไทย มากมายหลายเผ่าชน
เนื้อที่/พื้นที่ : 736.701 ตร.กม.
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป 
อากาศเย็นสบายมีอุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 20 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาว จะหนาวจัด มีหมอกปกคลุม พื้นที่อุณหภูมิเคยต่ำสุดถึง 2 องศา ส่วนฤดูร้อน อุณหภูมิ 34 องศา ฤดูฝนปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200 - 1,400 มม.
ข้อมูลการปกครอง 
ตำบล 7 แห่ง หมู่บ้าน 93 แห่ง เทศบาล 1 แห่ง อบต 6 แห่ง
อาชีพหลัก : ทำสวนส้ม  สวนลิ้นจี่  ทำนา  ปลูกกระเทียม  หอมแดง
อาชีพเสริม : เลี้ยงสัตว์  การค้าขาย  การประกอบธุรกิจท่องเที่ยว
ธนาคารมี 3 แห่ง :
v   ธนาคารกรุงเทพ  จำกัด สาขาแม่อาย
v   ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  สาขาแม่อาย
v   ธนาคารออมสิน  จำกัด สาขาแม่อาย
โรงเรียนมัธยม : โรงเรียนแม่อายวิทยาคม  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 
ด้านประชากร :
                จำนวนประชากรทั้งสิ้น     รวม 72,937  คน
                จำนวนประชากรชาย         รวม 36,580  คน
                จำนวนประชากรหญิง       รวม 36,357 คน
                ความหนาแน่นของประชากร 99 คน/ตร.กม.
ด้านการคมนาคม : ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  107,1098
ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ : 
ส้มสายน้ำผึ้ง  ข้าว  ลิ้นจี่  กระเทียม  หอมแดง  ข้าวโพด  พริกชี้ฟ้า
ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ : แม่น้ำกก  แม่น้ำฝาง
โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ :               
v   โรงสีขาว  ที่ตั้ง  ตำบลแม่สาว
v   โรงงานอิฐ  ที่ตั้ง  ตำบลแม่สาว
v   การทอผ้าพื้นเมือง (ครัวเรือน)  ที่ตั้ง  บ้านใหม่หมอกจ๋าม ต.ท่าตอน
v   อุตสาหกรรมใบชา (เมี่ยง)  ที่ตั้ง  ดอยลาง  ต.แม่อาย


 แหล่งข้อมูล : http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=155&pv=13

ประวัติอำเภอแม่อาย



อำเภอแม่อายตั้งอยู่ในบริเวณเมืองโบราณที่ชื่อ เวียงมะลิกา ตั้งอยู่ที่ หมู่ 8 ตำบลแม่อาย ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่อาย 2 กิโลเมตร มีทางแยกจากทางหลวงแผ่นดินสายฝาง-ท่าตอน 
กิโลเมตรที่ 16.50 เป็นทางดินอัดแน่นระยะทาง 200 เมตร มีคูเมือง ซากอิฐกำเเพงดิน 
เป็นที่สังเกตได้ราษฏร ถือว่าเป็นโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ ตำนานเวียงมะลิกา เขียนว่า เจ้าแม่มะลิกา เป็นราชบุตรี ในพระเจ้าฝางและพระนางสามผิว (พระนางสามผิว มีพระฉวี
วรรณงดงามในตอนเช้า มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดุจดอกมะลิ ในเวลาเที่ยงวันพระฉวีวรรณ  เปลี่ยนเป็นสีแดงดอกกุหลาบ ต่อมาเวลาเย็นพระฉวีวรรณจะเปลี่ยนแปลงเป็นสีชมพูดุจ  
ดอกบัวจงกลนี จึงได้พระนามว่า "พระนางสามผิว" พระนางมีพระพุทธปฏิมา แก่นจันทร์ 
เป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ ทรงสักการะบูชาทุกค่ำเช้า วันหนึ่งมี่ขุ่นเคืองพระทัยด้ว
เรื่องพระสนมเอกของพระเจ้าฝาง เมื่อถึงเวลาถวายเทียนสักการะบูชาพระพุทธปฏิมา
แต่พระองค์ยังมิอาจดับพระทัยที่ขุ่นเคืองได้ ขณะที่จุดเทียนถวายสักการะ บูชาพระพุทธ
ปฏิมาแก่นจันทร์ และทรงละเลยไว้ด้วยความประมาท เทียนที่จุดไว้ล้มลงเผาไหมพระโอษฐ์
พระพุทธปฏิมา รุ่งขึ้นเวลาเช้าเมื่อพระนางเจ้าเสด็จออกจากที่บรรทมทรงทราบว่าเทียนล้มลง
เผาไหม้พระโอษฐ์พระพุทธปฏิมาแก่นจันทร์ก็ทรงสำนึกความบาปที่ทำด้วยความประมาท 
ครั้นกาลต่อมา พระครรภ์ครบกำหนดทศมาส ประสูติพระราชธิดาผู้ทรงโฉมศิริโสภาค
พระฉวีวรรณผุดผ่องแม้นเหมือนพระมารดา แต่ก็มีตำหนิที่ควรสมเพชที่พระธิดา มีริม
พระโอษฐ์ล่างแหว่งไป เมื่อราชบุตรีทรงวุฒิจำเริญขึ้นพระเจ้าฝางทรงเกรงเป็นที่ละอายแก่
ไพร่ฟ้าพลเมืองจึงทรงสร้างสวนหลวงขึ้นทางทิศเหนีอเวียงสุโท (ใกล้กับ เมืองฝาง) และ
สร้างคุ้มหลวง ประกอบด้วย คู และปราการ ล้อมรอบประทานราชบุตรี ให้เป็นที่ประทับ
สำราญ สวนหลวงแห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า "เวียงมะลิกา" เชื่อว่า เวียงมะลิกาไม่มีบุรุษเพศเลย ผู้คนล้วนแต่สตรีเพศพระแม่เจ้าทรงฝึกฝนสตรีผู้กำยำเป็นทะแกล้วคนหาญของเวียงมะลิกา จนเป็นที่ลือชา ปรากฏว่าเวียงมะลิกามีคนหาญการธนูที่แกร่งกล้ายิงแม่นนัก กาลต่อมา
มีราชบุตรของเจ้าผู้ครองเวียงภูก่ำ (แคว้นไตใหญ่) ได้สดับข่าวเกี่ยวกับพระเจ้าแม่มะลิกา แรงแห่งบุพเพสันนิวาสเกิดขึ้นในราชบุตร พระราชบุตรได้ทรงอ้อนวอนพระเจ้าภูก่ำขอ
เสด็จไปเวียงมะลิกาเยี่ยงสามัญชนคนค้าขาย พระเจ้าภูก่ำทรงอนุยาต แล้วสั่งอำมาตย์
คนสนิทให้ตระเตรียมม้าต่างอัญมณีเป็นสินค้าโดยเสด็จพระราชบุตร ข่าวการเสด็จฯของ
พระราชบุตรทราบถึงเจ้าแม่มะลิกา พระองค์ก็เกิดอางขนางในวันที่พระราช บุตรกำหนด
เข้าเฝ้าถวายอัญมณีแม่เจ้าก็เสด็จหลีกลี้ไปสรงสนานน้ำห้วยและแต่งให้พระพี่เลี้ยงนางเหลี่ยวอยู่เวียงมะลิการับเสด็จพระราชบุตร เมื่อพระราช บุตรในรูปของพ่อค้านายวาณิชเข้าเฝ้า พระพี่เลี้ยงก็กล่าวว่าแม่เจ้าไม่ทรงปรารถนาพบเห็นชายใด ๆ และไม่ต้องประสงค์ในการ
ได้ยินเรื่องเช่นนี้ พ่อค้า จำแลงก็ลากลับเวียงภูก่ำด้วยความโทมนัส ขณะที่พระนางมะลิกา
สรงสนานอยู่น้ำในลำห้วยก็กลายเป็นสีเลือดด้วยละอายพระทัยคนทั้งหลายจึงเรียกน้ำห้วย นั้นว่า "แม่อาย" จึงได้ชื่อตำบลนี้ว่า "แม่อาย" 
แหล่งข้อมูล :  http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=155&pv=13

ประเพณีอำเภอแม่อาย

 ประเพณีกินวอ

          ตำบลท่าตอน  เป็นตำบลเล็กๆที่มีภูเขาล้อมรอบ มีลำน้ำกกไหลผ่าน มีทัศนีย์ภาพ
ที่สวยงาม และยังเป็นตำบลที่มีชนเผ่าอาศัยอยู่มากมายหลายเผ่า จึงเป็นที่มาของวัฒนธรรม
ประเพณีที่หลากหลายและมีความน่าสนใจ เป็นอย่างยิ่ง ประเพณีกินวอหรือขึ้นปีใหม่ของ
ชนเผ่าลาหู่ถือว่าเป็นเทศกาลแห่งความสุขของชาวลาหู่เพราะจะมีการเฉลิมฉลองกันอย่าง
สนุกสนานโดยในช่วงเวลากลางคืนจะมีการเต้น จะคึ” เป็นการเต้นที่เป็นเอกลักษณ์และ
หาชมได้ยาก  งานจะจัดขึ้นเป็นเวลา 7 วันโดยแบ่งออกเป็นวันปีใหม่ของผู้หญิง 4 วันและ
วันของผู้ชาย 3 วัน ประเพณีจัดขึ้นช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ณ หมู่บ้านชนเผ่าลาหู่
ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่




ประเพณีผูกข้อมือ

          เป็นประเพณีของชนเผ่ากะเหรี่ยง ตามความเชื่อถือที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาด้วย
ความที่เชื่อว่าในร่างกายของคนเรามีอยู่ 33 ขวัญ เช่นขวัญศรีษะ ขวัญจะละทิ้งหรือหาย
ไปก็ต่อเมื่อคนๆนั้นตายไป นอกจากนั้นยังเชื่อกันว่าขวัญชอบที่จะหนีไปท่องเที่ยวตาม
ความต้องการของมันเอง และอาจจะถูกผีร้ายต่างๆทำร้ายหรือกักขังไว้ซึ่งจะทำให้ผู้นั้น
ล้มป่วย การรักษาช่วยเหลือคนเจ็บป่วยคือให้พ่อหมอผีประจำหมู่บ้านเรียกขวัญให้กลับ
มาสู่บุคคลที่เจ็บป่วยพร้อมกับทำพิธีผูกข้อมือรับขวัญเซ่นไหว้ผีด้วยไก่,หมูสีดำ,เหล้าป่า 
งานประเพณีผูกข้อมือจัดขึ้นทุกปีในช่วงกุมภาพันธ์ ณ หมู่ 9 บ้านเมืองงาม ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่


ประเพณียกย่องครูหมอไตย

            วันยกย่องครูหมอไตหรือวันไหว้ครู จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรำลึกถึงบุญคุณ
ของครูบาอาจารย์ซึ่งเป็นนักประพันธ์ หรือนักกวี ที่มีชื่อเสียงทั้งหลายของชาวไตที่ได้ล่วง
ลับไปแล้ว  ภายในงานจะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ที่หาชมได้ยาก เช่น
การฟ้อนกิงกะหล่า ฟ้อนโต ประเพณียกย่องครูหมอไตยจัดขึ้นในช่วงกุมภาพันธ์ของทุกปี 
ณ วัดใหม่หมอกจ๋าม หมู่ 8 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่



ประเพณีสงกรานต์

           ตำบลท่าตอนเป็นตำบลที่มีลำน้ำกกไหลผ่านไปยังจังหวัดเชียงราย  ในทุกวันที่13-15 
เดือนเมษายนของทุกปีถือว่าเป็นประเพณีสงกรานต์ และทางตำบลท่าตอนได้จัดงานประเพณี
สงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ประจำทุกปีเพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีที่สำคัญของคนไทย
ช่วงเวลานั้นปริมาณน้ำในลำน้ำกกบางแห่งจะลดลงจนเป็นหาดทราย เหมาะแก่การพักผ่อน
และเล่นน้ำเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นมีกิจกรรมน่าสนใจอีกมากมายที่ทางองค์การบริหาร
ส่วนตำบลท่าตอนจัดขึ้น เช่นการประกวดนางสงกรานต์ซึ่งมีความแปลกใหม่ต่างจากที่อื่น
คือ ผู้ที่เข้าประกวดจะต้องล่องแพมายังเวทีของการประกวด การเดินขบวนของแต่ละหมู่บ้าน การแสดงศิลปะพื้นบ้าน การชกมวยมวยทะเล การแข่งขันชักคะเย่อในน้ำ ขึ้นเสาน้ำมัน ฯลฯ สร้างความสนุกสนานให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมเป็นอย่างมาก งานประเพณีสงกรานต์
ของตำบลท่าตอนนี้ จะจัดขึ้น ณ บริเวณหาดทรายริมน้ำกกของบ้านท่าตอน


          ประเพณีบวชลูกแก้ว(ปอยส่างลอง)        

          ปอยบวชลูกแก้ว(ปอยส่างลอง)เป็นประเพณีบวชเณรตามความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธ
ศาสนาเพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและมีความ
เชื่อว่าจะได้รับบุญกุศลจากการบวชสามเณร พิธีกรรมจะมีการจัดอย่างใหญ่โตโดยแบ่งงาน
ออกเป็น 3 วันคือ วันแรก เรียกว่าวันแต่งดาในตอนเช้านำเด็กที่โกนหัวแล้วไปแต่งชุดลูก
แก้วคล้ายเจ้าชายไทยใหญ่ รับศีล หลังจากนั้นนำลูกแก้วแห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอตลอดทั้งวันและนำลูกแก้ว
กลับไปรับประทานอาหารพักผ่อนที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สองเป็นวันแห่เครื่องไทยทานทำใน
ตอนเช้ามีขบวนแห่เครื่องไทยทานและลูกแก้วไปที่วัด มีการเลี้ยงอาหารผู้มาร่วมขบวนแห่ และมีการทำขวัญลูกแก้ว เลี้ยงอาหารมื้อพิเศษมีอาหาร ๑๒ อย่าง แก่ลูกแก้วด้วย วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ตอนบ่ายแก่แห่ลูกแก้วไปที่วัดและทำพิธีบรรพชาและอาจมีการจุด
บั้งไฟเป็นการเฉลิมฉลองด้วย ประเพณีปอยบวชลูกแก้วลองจัดขึ้นทุกปีในเดือนเมษายน หรือเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ณ วัดท่าตอนพระอารามหลวง



ประเพณีโล้ชิงช้า

          ประเพณีโล้ชิงช้าหรือที่อาข่าเรียกว่า แย้ขู่อาเผ่ว” เป็นประเพณีรื่นเริงที่สำคัญมาก
ประเพณีหนึ่ง ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึง พระคุณแห่งเทพธิดา อึ่มซาแยะผู้ประทานความชุ่ม
ชื้นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย ประเพณี
นี้จะมีการจัดขึ้นทุกปี ประมาณ ปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ผู้หญิงอาข่าจะมี
การแต่งกายอย่างสวยงาม จากเสื้อผ้าที่ได้เตรียมตลอดทั้งปี มาสวมใส่เป็นกรณีพิเศษในช่วง
ประเพณีนี้ พิธีกรรมจะถูกจัดขึ้นทั้งหมด 4 วัน วันแรก เป็นพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ผู้หญิงจะ
ตักน้ำบริสุทธิ์ที่แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน เพื่อนำไปแช่ข้าวเหนียวไว้ตำเพื่อเป็นอาหาร
เส้นไหว้บูชาที่เรียกว่า “ ข้าวปุก” วันที่สองวันเริ่มปลูกสร้างชิงช้าวันนี้จะไม่มีการฆ่าสัตว์ 
หนุ่มสาวจะรวมกลุ่มกันเพื่อร้องเพลงอย่างสนุกสนาน วันที่สามเป็นวันฉลองต้อนรับปีใหม่
ถือว่าเป็นพิธีใหญ่ มีการฆ่าหมู ไก่ และนำสุรามาเลี้ยงกันทั้งหมู่บ้าน และแขกที่มาร่วมงาน วันที่สี่ เป็นวันสุดท้ายของพิธีกรรม หนุ่มสาวและเด็กจะร่วมกันโล้ชิงช้ากันทั้งวันประเพณี
โล้ชิงช้านี้จะจัดขึ้นที่บ้านห้วยศาลา อำเภอท่าตอน จังหวัดเชียงใหม่



 ประเพณีลอยพระอุปคุต

     ลอยพระอุปคุตเป็นประเพณีของชาวไทใหญ่ ในอำเภอแม่อาย จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 10 ทุกๆปี ความเชื่อของล้านนาและชาวไทยใหญ่เชื่อว่าพระอุปคุตสิงสถิตอยู่
ที่ใต้แม่น้ำหรือสะดือทะเล และมีอิทธิฤทธิ์มาก การลอยพระอุปคุตนั้นก็คือการบูชา
ท่าน เพราะท่านชอบอยู่ใต้น้ำจึงต้องลอยน้ำบูชาท่าน ถือกันว่าพระอุปคุตนั้นมีอยู่ 8 
องค์นิพพานไปแล้ว 4 องค์ ที่ยังเหลืออยู่ 4 องค์ ดังนั้นการลอยบูชาจึงจัดให้มี 8 องค์ 
พิธีการ จะมีการสร้างพระอุปคุตด้วยไม้ ขึ้น 8 องค์ ใส่ในมณฑปที่สร้างขึ้นสำหรับ
แต่ละองค์เริ่มพิธีบูชาตั้งแต่ ขึ้น 14 ค่ำ และในวันขึ้น 15 ค่ำ ขบวนแห่พระอุปคุตจะ
เริ่มตั้งแต่วัดแม่อายหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่แล้วทำพิธีลอยในแม่น้ำกก 
ณ ท่าเรือบ้านท่าตอน หมู่ 3 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

 ประเพณีลอยปอยเทียน

          ชาวไทยใหญ่ที่มีความเชื่อหลังจากออกพรรษาแล้ว จะต้องแห่ต้นเทียนพร้อมสิ่งของ
เพื่อนำไปถวายแด่พระสงฆ์ โดยเชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาในช่วงนี้และเป็น
กุสโลบายของผู้ใหญ่ที่ต้องการให้ลูกหลานได้พบกันและได้ทำบุญร่วมกัน และในวันนั้น
ชาวบ้านจะไปหาต้นสนมาผ่าเป็นชิ้นเล็กๆนำมามัดรวมกันเป็นต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 
2.5-3 เมตร แล้วแห่ไปถวายวัดด้วย พร้อมกับจุดไฟต้นสน เพื่อเป็นพุทธบูชาสร้างนิมิตหมาย
และความเป็นศิริมงคลให้แก่ชีวิตที่โชติช่วง หญิงและชายแต่งกายในชุดของชาวไทยใหญ่
อย่างสวยงาม มีวงดนตรีพื้นบ้านแห่นำหน้า มีการจุดเทียนส่องสว่างเดินไปยังวัด ประเพณี
นี้จะถูกจัดขึ้นในช่วงหลังวันออกพรรษา  ณ วัดใหม่หมอกจ๋าม หมู่8 บ้านใหม่หมอกจ๋าม

 ประเพณีลอยกระทง

          ประเพณีลอยกระทงตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติหรือ
ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ตำบลท่าตอนเป็นตำบลที่มีแม่น้ำกกไหลผ่านแม่น้ำกก
จึงเป็นสายน้ำที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ทั้งในการเกษตร อุปโภค บริโภค และเมื่อถึง 15 ค่ำ 
เดือน 12 ประชาชนในพื้นที่ก็จะนำกระทงมาลอยเพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคาซึ่งทาง
ตำบลท่าตอนก็ได้จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นทุกปี และมีกิจกรรมมากมายอย่างเช่น การประกวด
นางนพมาศ การแสดงศิลปะพื้นบ้าน การประกวดกระทงใหญ่ การจุดพลุดอกไม้ไฟ งานนี้จัด
ขึ้น ณ บริเวณท่าเรือบ้านท่าตอน หมู่ 3 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

แหล่งข้อมูล : 


สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอแม่อาย

วัดท่าตอน




วัดพระธาตุสบฝาง





อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก





แม่น้ำกก





สวนส้มธนาธร





น้ำพุร้อนมะลิกา





โครงการหลวงหมอกจ๋าม




น้ำตกปู่หมื่น




เมืองพระนางมะลิกา