วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีอำเภอแม่อาย

 ประเพณีกินวอ

          ตำบลท่าตอน  เป็นตำบลเล็กๆที่มีภูเขาล้อมรอบ มีลำน้ำกกไหลผ่าน มีทัศนีย์ภาพ
ที่สวยงาม และยังเป็นตำบลที่มีชนเผ่าอาศัยอยู่มากมายหลายเผ่า จึงเป็นที่มาของวัฒนธรรม
ประเพณีที่หลากหลายและมีความน่าสนใจ เป็นอย่างยิ่ง ประเพณีกินวอหรือขึ้นปีใหม่ของ
ชนเผ่าลาหู่ถือว่าเป็นเทศกาลแห่งความสุขของชาวลาหู่เพราะจะมีการเฉลิมฉลองกันอย่าง
สนุกสนานโดยในช่วงเวลากลางคืนจะมีการเต้น จะคึ” เป็นการเต้นที่เป็นเอกลักษณ์และ
หาชมได้ยาก  งานจะจัดขึ้นเป็นเวลา 7 วันโดยแบ่งออกเป็นวันปีใหม่ของผู้หญิง 4 วันและ
วันของผู้ชาย 3 วัน ประเพณีจัดขึ้นช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ณ หมู่บ้านชนเผ่าลาหู่
ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่




ประเพณีผูกข้อมือ

          เป็นประเพณีของชนเผ่ากะเหรี่ยง ตามความเชื่อถือที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาด้วย
ความที่เชื่อว่าในร่างกายของคนเรามีอยู่ 33 ขวัญ เช่นขวัญศรีษะ ขวัญจะละทิ้งหรือหาย
ไปก็ต่อเมื่อคนๆนั้นตายไป นอกจากนั้นยังเชื่อกันว่าขวัญชอบที่จะหนีไปท่องเที่ยวตาม
ความต้องการของมันเอง และอาจจะถูกผีร้ายต่างๆทำร้ายหรือกักขังไว้ซึ่งจะทำให้ผู้นั้น
ล้มป่วย การรักษาช่วยเหลือคนเจ็บป่วยคือให้พ่อหมอผีประจำหมู่บ้านเรียกขวัญให้กลับ
มาสู่บุคคลที่เจ็บป่วยพร้อมกับทำพิธีผูกข้อมือรับขวัญเซ่นไหว้ผีด้วยไก่,หมูสีดำ,เหล้าป่า 
งานประเพณีผูกข้อมือจัดขึ้นทุกปีในช่วงกุมภาพันธ์ ณ หมู่ 9 บ้านเมืองงาม ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่


ประเพณียกย่องครูหมอไตย

            วันยกย่องครูหมอไตหรือวันไหว้ครู จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรำลึกถึงบุญคุณ
ของครูบาอาจารย์ซึ่งเป็นนักประพันธ์ หรือนักกวี ที่มีชื่อเสียงทั้งหลายของชาวไตที่ได้ล่วง
ลับไปแล้ว  ภายในงานจะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ที่หาชมได้ยาก เช่น
การฟ้อนกิงกะหล่า ฟ้อนโต ประเพณียกย่องครูหมอไตยจัดขึ้นในช่วงกุมภาพันธ์ของทุกปี 
ณ วัดใหม่หมอกจ๋าม หมู่ 8 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่



ประเพณีสงกรานต์

           ตำบลท่าตอนเป็นตำบลที่มีลำน้ำกกไหลผ่านไปยังจังหวัดเชียงราย  ในทุกวันที่13-15 
เดือนเมษายนของทุกปีถือว่าเป็นประเพณีสงกรานต์ และทางตำบลท่าตอนได้จัดงานประเพณี
สงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ประจำทุกปีเพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีที่สำคัญของคนไทย
ช่วงเวลานั้นปริมาณน้ำในลำน้ำกกบางแห่งจะลดลงจนเป็นหาดทราย เหมาะแก่การพักผ่อน
และเล่นน้ำเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นมีกิจกรรมน่าสนใจอีกมากมายที่ทางองค์การบริหาร
ส่วนตำบลท่าตอนจัดขึ้น เช่นการประกวดนางสงกรานต์ซึ่งมีความแปลกใหม่ต่างจากที่อื่น
คือ ผู้ที่เข้าประกวดจะต้องล่องแพมายังเวทีของการประกวด การเดินขบวนของแต่ละหมู่บ้าน การแสดงศิลปะพื้นบ้าน การชกมวยมวยทะเล การแข่งขันชักคะเย่อในน้ำ ขึ้นเสาน้ำมัน ฯลฯ สร้างความสนุกสนานให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมเป็นอย่างมาก งานประเพณีสงกรานต์
ของตำบลท่าตอนนี้ จะจัดขึ้น ณ บริเวณหาดทรายริมน้ำกกของบ้านท่าตอน


          ประเพณีบวชลูกแก้ว(ปอยส่างลอง)        

          ปอยบวชลูกแก้ว(ปอยส่างลอง)เป็นประเพณีบวชเณรตามความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธ
ศาสนาเพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและมีความ
เชื่อว่าจะได้รับบุญกุศลจากการบวชสามเณร พิธีกรรมจะมีการจัดอย่างใหญ่โตโดยแบ่งงาน
ออกเป็น 3 วันคือ วันแรก เรียกว่าวันแต่งดาในตอนเช้านำเด็กที่โกนหัวแล้วไปแต่งชุดลูก
แก้วคล้ายเจ้าชายไทยใหญ่ รับศีล หลังจากนั้นนำลูกแก้วแห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอตลอดทั้งวันและนำลูกแก้ว
กลับไปรับประทานอาหารพักผ่อนที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สองเป็นวันแห่เครื่องไทยทานทำใน
ตอนเช้ามีขบวนแห่เครื่องไทยทานและลูกแก้วไปที่วัด มีการเลี้ยงอาหารผู้มาร่วมขบวนแห่ และมีการทำขวัญลูกแก้ว เลี้ยงอาหารมื้อพิเศษมีอาหาร ๑๒ อย่าง แก่ลูกแก้วด้วย วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ตอนบ่ายแก่แห่ลูกแก้วไปที่วัดและทำพิธีบรรพชาและอาจมีการจุด
บั้งไฟเป็นการเฉลิมฉลองด้วย ประเพณีปอยบวชลูกแก้วลองจัดขึ้นทุกปีในเดือนเมษายน หรือเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ณ วัดท่าตอนพระอารามหลวง



ประเพณีโล้ชิงช้า

          ประเพณีโล้ชิงช้าหรือที่อาข่าเรียกว่า แย้ขู่อาเผ่ว” เป็นประเพณีรื่นเริงที่สำคัญมาก
ประเพณีหนึ่ง ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึง พระคุณแห่งเทพธิดา อึ่มซาแยะผู้ประทานความชุ่ม
ชื้นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย ประเพณี
นี้จะมีการจัดขึ้นทุกปี ประมาณ ปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ผู้หญิงอาข่าจะมี
การแต่งกายอย่างสวยงาม จากเสื้อผ้าที่ได้เตรียมตลอดทั้งปี มาสวมใส่เป็นกรณีพิเศษในช่วง
ประเพณีนี้ พิธีกรรมจะถูกจัดขึ้นทั้งหมด 4 วัน วันแรก เป็นพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ผู้หญิงจะ
ตักน้ำบริสุทธิ์ที่แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน เพื่อนำไปแช่ข้าวเหนียวไว้ตำเพื่อเป็นอาหาร
เส้นไหว้บูชาที่เรียกว่า “ ข้าวปุก” วันที่สองวันเริ่มปลูกสร้างชิงช้าวันนี้จะไม่มีการฆ่าสัตว์ 
หนุ่มสาวจะรวมกลุ่มกันเพื่อร้องเพลงอย่างสนุกสนาน วันที่สามเป็นวันฉลองต้อนรับปีใหม่
ถือว่าเป็นพิธีใหญ่ มีการฆ่าหมู ไก่ และนำสุรามาเลี้ยงกันทั้งหมู่บ้าน และแขกที่มาร่วมงาน วันที่สี่ เป็นวันสุดท้ายของพิธีกรรม หนุ่มสาวและเด็กจะร่วมกันโล้ชิงช้ากันทั้งวันประเพณี
โล้ชิงช้านี้จะจัดขึ้นที่บ้านห้วยศาลา อำเภอท่าตอน จังหวัดเชียงใหม่



 ประเพณีลอยพระอุปคุต

     ลอยพระอุปคุตเป็นประเพณีของชาวไทใหญ่ ในอำเภอแม่อาย จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 10 ทุกๆปี ความเชื่อของล้านนาและชาวไทยใหญ่เชื่อว่าพระอุปคุตสิงสถิตอยู่
ที่ใต้แม่น้ำหรือสะดือทะเล และมีอิทธิฤทธิ์มาก การลอยพระอุปคุตนั้นก็คือการบูชา
ท่าน เพราะท่านชอบอยู่ใต้น้ำจึงต้องลอยน้ำบูชาท่าน ถือกันว่าพระอุปคุตนั้นมีอยู่ 8 
องค์นิพพานไปแล้ว 4 องค์ ที่ยังเหลืออยู่ 4 องค์ ดังนั้นการลอยบูชาจึงจัดให้มี 8 องค์ 
พิธีการ จะมีการสร้างพระอุปคุตด้วยไม้ ขึ้น 8 องค์ ใส่ในมณฑปที่สร้างขึ้นสำหรับ
แต่ละองค์เริ่มพิธีบูชาตั้งแต่ ขึ้น 14 ค่ำ และในวันขึ้น 15 ค่ำ ขบวนแห่พระอุปคุตจะ
เริ่มตั้งแต่วัดแม่อายหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่แล้วทำพิธีลอยในแม่น้ำกก 
ณ ท่าเรือบ้านท่าตอน หมู่ 3 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

 ประเพณีลอยปอยเทียน

          ชาวไทยใหญ่ที่มีความเชื่อหลังจากออกพรรษาแล้ว จะต้องแห่ต้นเทียนพร้อมสิ่งของ
เพื่อนำไปถวายแด่พระสงฆ์ โดยเชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาในช่วงนี้และเป็น
กุสโลบายของผู้ใหญ่ที่ต้องการให้ลูกหลานได้พบกันและได้ทำบุญร่วมกัน และในวันนั้น
ชาวบ้านจะไปหาต้นสนมาผ่าเป็นชิ้นเล็กๆนำมามัดรวมกันเป็นต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 
2.5-3 เมตร แล้วแห่ไปถวายวัดด้วย พร้อมกับจุดไฟต้นสน เพื่อเป็นพุทธบูชาสร้างนิมิตหมาย
และความเป็นศิริมงคลให้แก่ชีวิตที่โชติช่วง หญิงและชายแต่งกายในชุดของชาวไทยใหญ่
อย่างสวยงาม มีวงดนตรีพื้นบ้านแห่นำหน้า มีการจุดเทียนส่องสว่างเดินไปยังวัด ประเพณี
นี้จะถูกจัดขึ้นในช่วงหลังวันออกพรรษา  ณ วัดใหม่หมอกจ๋าม หมู่8 บ้านใหม่หมอกจ๋าม

 ประเพณีลอยกระทง

          ประเพณีลอยกระทงตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติหรือ
ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ตำบลท่าตอนเป็นตำบลที่มีแม่น้ำกกไหลผ่านแม่น้ำกก
จึงเป็นสายน้ำที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ทั้งในการเกษตร อุปโภค บริโภค และเมื่อถึง 15 ค่ำ 
เดือน 12 ประชาชนในพื้นที่ก็จะนำกระทงมาลอยเพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคาซึ่งทาง
ตำบลท่าตอนก็ได้จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นทุกปี และมีกิจกรรมมากมายอย่างเช่น การประกวด
นางนพมาศ การแสดงศิลปะพื้นบ้าน การประกวดกระทงใหญ่ การจุดพลุดอกไม้ไฟ งานนี้จัด
ขึ้น ณ บริเวณท่าเรือบ้านท่าตอน หมู่ 3 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

แหล่งข้อมูล : 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น